เลือกประเทศไทย

(OCT23) บริการครบวงจร

editor image

    ด้วยการบริการครบวงจร (One Stop Service) ที่อำนวยความสะดวกการจัดงานไมซ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจไมซ์ไทย ตลอดจนอำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรมไมซ์ได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเชื่อมโยงการให้บริการจัดงานไมซ์ด้วยระบบดิจิทัล ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้จัดงาน เจ้าของงาน และผู้เข้าร่วมงาน สามารถเข้าถึงข้อมูลและการบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ส่งผลให้ไทยสามารถยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ก้าวสู่ระดับโลกต่อไปได้อย่างภาคภูมิ

1. การให้บริการที่สนามบิน (Service at the airport) 

การอำนวยความสะดวกให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทีเส็บมุ่งเน้นการบริการเพื่อสร้างความประทับใจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์ของภูมิภาคเอเซียซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจของผู้ประกอบการไมซ์ที่จะเลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานระดับโลก สร้างจุดเด่นและความประทับใจในการบริการต้อนรับนักเดินทางไมซ์จากทั่วทุกมุมโลก    

  1. การให้บริการข้อมูลการขอรับการตรวจลงตรา หรือการขอวีซ่าก่อนการเดินทาง
  2. การให้บริการไมซ์ เลน  (MICE LANE) เป็นการให้บริการตรวจคนเข้าเมืองในช่องทางพิเศษ
  3. การตรวจลงตราเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย (VISA On Arrival) 
  4. ด่านควบคุมโรคติดต่อ (Health Control) 
  5. เคาน์เตอร์ต้อนรับนักเดินทางกลุ่มไมซ์ (TCEB Information Center) เพื่อให้บริการข้อมูลและการให้ความช่วยเหลือ ณ สายพานรับกระเป๋าหมายเลข 18
  6. การให้บริการจุดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์งานไมซ์ในพื้นที่สนามบินโดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

2. นโยบายฟรีวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวจากจีน และคาซัคสถาน และการขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวสัญชาติรัสเชีย

ประเทศไทยยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง สัญชาติจีน และ สัญชาติคาซัคสถาน เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว (ไม่ต้องขอวีซ่า) ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยให้สามารถเข้ามาท่องเที่ยวและพำนักในราชอาณาจักรไทยได้ “ไม่เกิน 30 วัน”

และมีการขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติรัสเชีย เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว จากเดิม 30 วัน เป็น 90 วัน เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและการเดินทาง โดยมีเงื่อนไขให้มีผลบังคับใช้ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 ทั้งนี้ การดำเนินการมาตรการวีซ่าสำหรับนักเดินทางชาวรัสเซียครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเดินทางเพิ่มเติม หลังจากรัฐบาลได้ดำเนินการด้านมาตรการวีซ่าฟรีเป็นการชั่วคราวเพื่อกระตุ้นการเดินทางต่อจากจีน และคาซัคสถาน ไปก่อนหน้านี้ 

ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้นักเดินทางตัดสินใจเดินทางมาประเทศไทยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัว กลุ่มทัวร์ และกลุ่ม Incentive โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้เพิ่มกำลังตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอีก 400 นาย ดูแลการตรวจหนังสือเดินทางได้ตลอด 24 ชั่วโมง ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

3. การขับเคลื่อนให้ประเทศไทยเป็นจุดหมายปลายด้านไมซ์และท่องเที่ยวที่ยั่งยืน 

1) ทีเส็บบรรจุกลยุทธ์เรื่องความยั่งยืนไว้ในแผนปฏิบัติการ 5 ปี เรียกว่า ""Go for MICE Sustainability"" ซึ่งคาดการณ์จำนวนงาน 500 งาน ภายในระยะ 5 ปี ซึ่งในปี 2570 คาดว่าจะมี จำนวนนักเดินทางไมซ์ทั้งในประเทศและจากต่างประเทศ รวม 40 ล้านคน สร้างรายได้ประมาณการณ์สองแสนล้านบาท

2) ทีเส็บมีเป้าหมายจัดวางให้ประเทศไทยเป็น High-Value Added Destination หรือจุดหมายที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการจัดงาน ประเทศเจ้าภาพสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกให้กับการจัดงาน สอดรับกับทิศทางธุรกิจและสังคมประชาคมโลก ช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการจัดงานในประเทศไทยในเรื่องความยั่งยืน หรือ Sustainability ที่เป็นทั้งเป้าหมายของสหประชาชาติและเป้าหมายการลดการปล่อยคาร์บอนของประเทศไทย

3) ทีเส็บพัฒนาขีดความสามารถสู่มาตรฐาน โดยนำหลักสูตรจากต่างประเทศเข้ามาเพื่อส่งเสริมบุคลากรไมซ์ อาทิ ผู้ประกอบการไมซ์ ทั้งระดับองค์กรและบุคลากรให้มีองค์ความรู้และแนวปฏิบัติในการให้บริการที่มีความยั่งยืน ซึ่งปัจจุบันมีผู้ผ่านการอบรมในทุกๆ หลักสูตรมากกว่า 1,300 ราย

4) ทีเส็บใช้มาตรฐานรองรับการบริหารจัดการอย่างยั่งยืนระดับชาติและนานาชาติ เพื่อเป็นหลักประกันการดำเนินงานที่ส่งเสริมความยั่งยืน ซึ่งมีองค์กรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานดังกล่าว มากกว่า 100 องค์กร

5) งานระดับนานาชาติที่จะมาจัดในประเทศไทยในเดือนพฤศจิกายน 2566 นี้ เรากำลังขับเคลื่อนเรื่องความยั่งยืนเพื่อตอบสนองการเป็น High Value-Added Destination คือ งาน ICCA Annual Congress 2023 ทีเส็บเป็นผู้ดึงงานเข้าประเทศและมุ่งขับเคลื่อนให้เป็นการจัดงานแบบ Carbon Neutral Event โดยมีเป้าหมายการ Offset ให้เป็นศูนย์

6) ทีเส็บได้ผลักดันแนวคิด Green Meeting ให้กับวงการไมซ์ไทยสร้างความตระหนักก่อนจะกำหนดแผนแม่บทและแนวปฏิบัติด้าน Green Meeting จากนั้นได้ผลักดันการเรียนรู้ โดยอ้างอิงกับเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของสหประชาชาติ (UN) เปิดอบรมเรื่องความยั่งยืน ทำโครงการนำร่องให้สถานประกอบการไมซ์จัดซื้อผลผลิตอาหารอินทรีย์โดยตรงจากเกษตรกร และได้จัดทำมาตรฐานความยั่งยืนระดับชาติให้กับสถานประกอบการไมซ์ พร้อมผลักดันแนวคิดไปสู่ระดับสากลให้กับระดับเมือง โดยเฉพาะ 10 เมืองไมซ์ซิตี้ ให้เข้าร่วมเครือข่าย Global Destination Sustainability Index (GDS) เพื่อเป็นแรงขับให้ขับเคลื่อนการจัดงานอย่างยั่งยืน

editor image


  

เลือกประเทศไทย

  • new-experience

    ประสบการณ์ใหม่

  • various-places

    หลากหลายสถานที่

  • full-service

    บริการครบวงจร

  • thai-identity

    เอกลักษณ์ไทย

  • connecting-hub

    ศูนย์กลางธุรกิจไมซ์เอเชีย