เลือกประเทศไทย

บริการครบวงจร

editor image

    ด้วยการบริการครบวงจร (One Stop Service) ที่อำนวยความสะดวกการจัดงานไมซ์ได้อย่างสมบูรณ์แบบ สามารถเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขัน และส่งเสริมภาพลักษณ์ธุรกิจไมซ์ไทย ตลอดจนอำนวยความสะดวกการจัดกิจกรรมไมซ์ได้อย่างยั่งยืน ผ่านการเชื่อมโยงการให้บริการจัดงานไมซ์ด้วยระบบดิจิทัล ตอบโจทย์ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย ทั้งผู้จัดงาน เจ้าของงาน และผู้เข้าร่วมงาน สามารถเข้าถึงข้อมูลและการบริการได้อย่างสะดวกรวดเร็วและทันต่อสถานการณ์ ส่งผลให้ไทยสามารถยกระดับอุตสาหกรรมไมซ์ก้าวสู่ระดับโลกต่อไปได้อย่างภาคภูมิ

1. การให้บริการที่สนามบิน (Service at the airport) 

การอำนวยความสะดวกให้นักเดินทางกลุ่มไมซ์เป็นปัจจัยสำคัญที่ทีเส็บมุ่งเน้นการบริการเพื่อสร้างความประทับใจและส่งเสริมภาพลักษณ์ที่ดีให้ประเทศไทยในฐานะจุดหมายปลายทางแห่งไมซ์ของภูมิภาคเอเซียซึ่งนับเป็นปัจจัยหลักในการตัดสินใจของผู้ประกอบการไมซ์ที่จะเลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพในการจัดงานระดับโลก สร้างจุดเด่นและความประทับใจในการบริการต้อนรับนักเดินทางไมซ์จากทั่วทุกมุมโลก    

  1. การให้บริการข้อมูลการขอรับการตรวจลงตรา หรือการขอวีซ่าก่อนการเดินทาง
  2. การให้บริการไมซ์ เลน  (MICE LANE) เป็นการให้บริการตรวจคนเข้าเมืองในช่องทางพิเศษ
  3. การตรวจลงตราเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย (VISA On Arrival) 
  4. ด่านควบคุมโรคติดต่อ (Health Control) 
  5. เคาน์เตอร์ต้อนรับนักเดินทางกลุ่มไมซ์ (TCEB Information Center) เพื่อให้บริการข้อมูลและการให้ความช่วยเหลือ ณ สายพานรับกระเป๋าหมายเลข 18
  6. การให้บริการจุดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์งานไมซ์ในพื้นที่สนามบินโดยเป็นการทำงานแบบบูรณาการร่วมกับสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง และ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)

ในปัจจุบัน ทีเส็บ มีบริการ MICE Lane ซึ่งเป็นบริการเฉพาะของทีเส็บในการให้บริการตรวจคนเข้าเมืองในช่องพิเศษที่สนามบินหลัก 2 แห่ง คือ สนามบินสุวรรณภูมิ และสนามบินดอนเมือง มีเคาน์เตอร์ประสานงานและประชาสัมพันธ์งานไมซ์อยู่ที่สนามบินทั้ง 2 แห่ง  และมีเจ้าหน้าที่ต้อนรับตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งนี้ เพื่อเป็นการขานรับนโยบายของรัฐบาล ในปีงบประมาณ 2567 (ตุลาคม 2566 – กันยายน 2567) ทีเส็บมีแผนจะพัฒนาเพิ่มการให้บริการ MICE lane ครอบคลุม 5 สนามบินหลัก คือ สุวรรณภูมิ ดอนเมือง เชียงใหม่ ภูเก็ต และอุดรธานี พร้อมเพิ่มมูลค่าการบริการ เพื่อสร้างความประทับใจในการเลือกประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงานประชุมและงานแสดงสินค้านานาชาติ โดยจะแบ่งกลุ่มการให้บริการออกเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย

1. คณะผู้เดินทางกลุ่มพิเศษสุด (VVIP) อาทิ เช่น บุคคลสำคัญของประเทศเจ้าภาพ, CEO , ผู้นำสูงสุดของงานประชุม หรืองานแสดงสินค้านานาชาติ 

2. คณะผู้เดินทางกลุ่มพิเศษ (VIP) เช่น กลุ่มผู้บริหารการจัดงาน หรือผู้บริหารบริษัทสำคัญที่เข้าร่วมงาน

 3. คณะผู้เดินทางกลุ่มประชุมทั่วไป (Delegate) 

ทั้งนี้ คาดว่านโยบาย Free Visa ของรัฐบาลดังกล่าวจะส่งผลให้มีจำนวนนักเดินทางไมซ์ในระยะ 5 เดือนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะนักเดินทางไมซ์จากจีน ที่มีจำนวนนักเดินทางติดอันดับที่ 3 ของประเทศไทย โดยคาดว่าจะมีนักเดินทางไมซ์จากจีนเข้าสู่ประเทศไทย 35,000 คน และเข้ามาใช้บริการ Mice Lane จำนวนไม่ต่ำกว่า 3,500 คน ซึ่งจะช่วยผลักดันให้ประเทศไทยสร้างรายได้จากอุตสาหกรรม MICE และช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงสิ้นปี ต่อเนื่องจนถึงไตรมาสที่ 1 ของปี 2567 ต่อไป


2. นโยบายฟรีวีซ่าแก่นักท่องเที่ยวจากจีน และคาซัคสถาน และการขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวสัญชาติรัสเชีย

ประเทศไทยยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทาง สัญชาติจีน และ สัญชาติคาซัคสถาน เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว (ไม่ต้องขอวีซ่า) ตั้งแต่วันที่ 25 กันยายน 2566 - 29 กุมภาพันธ์ 2567 โดยให้สามารถเข้ามาท่องเที่ยวและพำนักในราชอาณาจักรไทยได้ “ไม่เกิน 30 วัน”

และมีการขยายระยะเวลาการยกเว้นการตรวจลงตราเพื่อการท่องเที่ยวให้แก่ผู้ถือหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางสัญชาติรัสเชีย เป็นกรณีพิเศษและเป็นการชั่วคราว จากเดิม 30 วัน เป็น 90 วัน เพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและการเดินทาง โดยมีเงื่อนไขให้มีผลบังคับใช้ชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 1 พฤศจิกายน 2566 ถึงวันที่ 30 เมษายน 2567 ทั้งนี้ การดำเนินการมาตรการวีซ่าสำหรับนักเดินทางชาวรัสเซียครั้งนี้ ถือเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวและการเดินทางเพิ่มเติม หลังจากรัฐบาลได้ดำเนินการด้านมาตรการวีซ่าฟรีเป็นการชั่วคราวเพื่อกระตุ้นการเดินทางต่อจากจีน และคาซัคสถาน ไปก่อนหน้านี้ 

ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้นักเดินทางตัดสินใจเดินทางมาประเทศไทยได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มครอบครัว กลุ่มทัวร์ และกลุ่ม Incentive โดยบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. ได้เพิ่มกำลังตำรวจตรวจคนเข้าเมืองอีก 400 นาย ดูแลการตรวจหนังสือเดินทางได้ตลอด 24 ชั่วโมง ให้สอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล

2 มกราคม 2567 รัฐบาลไทยประกาศว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2567 เป็นต้นไป การเดินทางไปกลับทั้ง 2 ประเทศ ไม่ต้องมีวีซ่าระหว่างกันและกัน เป็นการยกระดับความสัมพันธ์และกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะให้กรมประชาสัมพันธ์ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งชี้แจงว่าประเทศไทยพร้อมแล้วจะเปิดประเทศ 

เลือกประเทศไทย

  • new-experience

    ประสบการณ์ใหม่

  • various-places

    หลากหลายสถานที่

  • full-service

    บริการครบวงจร

  • thai-identity

    เอกลักษณ์ไทย

  • connecting-hub

    ศูนย์กลางธุรกิจไมซ์เอเชีย